FR06001
กริ่งสัญญาณเตือนภัย 6 นิ้ว 220V ยี่ห้อ H.C. รุ่น HC-1220
กระดิ่งเตือนภัยตรา H.C. รุ่น HC-624B และ HC-1220 เป็นกระดิ่งเตือนภัยคุณภาพดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน UL
เสียงดังชัดเจน ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในงานระบบแจ้งเตือนภัยต่างๆ
• รุ่น |
: HC-1220 |
• กระดิ่งเตือนภัย ใช้กลไกการทำงานแบบมอเตอร์หรือขดลวด
• ได้รับมาตรฐานโดย UL
• ให้เสียงดังสูง 97dB
• ใช้พลังงานต่ำ แค่ 20mA
• มีขนาด 6 นิ้ว
• ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพียงถอดกระดิ่งออกแล้วร้อยสายไฟให้ถูกต้อง
ยึดกระดิ่งเข้ากับกล่องเต้ารับมาตรฐาน 4 นิ้ว แล้วขันสกรูให้แน่น
• ควรติดตั้งกระดิ่งให้สูงกว่าพื้นอย่างน้อย 8 ฟุต หรือให้ใกล้เพดานมากที่สุด
ขั้นตอนการติดตั้ง
• ถอดกริ่งออกโดยคลายสลักเกลียวหกเหลี่ยม
• ต่อสายไฟเข้ากับวงจร (สังเกตุขั้วบวกและขั้วลบ)
• ติดตั้งกลไกกระดิ่งบนกล่องเต้ารับมาตรฐานขนาด 4 นิ้ว โดยให้ด้านในหันลง
• เปลี่ยนกริ่งและขันสลักเกลียวหกเหลี่ยมให้แน่น
• กระดิ่งต้องติดตั้งจากพื้นอย่างน้อย 8 ฟุต หรือใกล้เพดานมากที่สุด
• กระดิ่งแบบโพลาไรซ์มีสายไฟสีแดง (-) และสีดำ (-) เมื่อคุณติดตั้งกระดิ่ง ต้องสังเกตุตามขั้วบวกและขั้วลบ
ข้อแนะนำการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
• อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ไช่อุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 4.00 เมตร ยกเว้นให้ติดตั้งในระดับความสูงเกินกว่า 4.00 เมตรได้ แต่ต้องคำนวณตามหลักวิศวกรรม ทั้งนี้ต้องสูงไม่เกิน 6.00 เมตร
• อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตร สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง
ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 25.00 เมตร ถ้าฝ้าเพดานหรือหลังคามีความสูงเกิน 25.00 เมตร ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสงหลายระดับ
• อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Alarm Box) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน และอยู่ในพื้นที่ ทุกทางออก และทางหนีไฟ
ของแต่ละชั้นของอาคารที่เข้าถึงได้สะดวก ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นระหว่าง 1.20-1.30 เมตร โดยระยะระหว่างอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือไม่เกิน 60.00 เมตร (วัดตามแนาทางเดิน)
• อุปกรณ์ให้เสียง เครื่องกำเนิดเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้สัญญาณเสียงอพยพในสถานที่ใดที่มีเสียงสัญญาณความดังของเสียงสัญญาณต้องดังกว่าเสียงรบกวน
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 dB เป็นระยะเวาลาไม่น้อยกว่า 60 วินาที และระดับความดังของเสียงที่จุดใดฯ ต้องไม่น้อยกว่า 65dB และไม่เกิน 120dB สำหรับสัญญาณเสียง
ที่ต้องการปลุกผู้อาศัยที่กำลังหลับอยู่ หรือใช้อุปกรณ์แจ้งเหตุอื่น ที่เหมาะสำหรับผู้อาศัยที่ด้อยสมรรถภาพทางการได้ยิน เช่นอุปกรณ์สั่นสะเทือนชนิดสอดใต้หมอน
ตัวอย่างพื้นที่ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษพร้อมทั้งชนิดอุปกรณ์ตราจจับที่แนะนำให้ใช้
1.) พื้นที่หลับนอน - อุปกรณ์ตรวจจับควัน
2.) ห้องซักรีด ห้องน้ำ - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
3.) ห้องครัว - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
4.) ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนหรืออุปกรณ์ตรวจจับควันหรือเปลวไฟ
5.) ที่จอดรถ - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
มาตรฐานการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้.pdf
ข้อแนะนำการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้.pdf
อุปกรณ์ตรวจจับควัน Notifier
สอบถามราคาเพิ่มเติม
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงและแสง CEMEN รุ่น U-881
สอบถามราคาเพิ่มเติม
อุปกรณ์แจ้งเหตุไฟไหม้แบบกดมือ
สอบถามราคาเพิ่มเติม
สัญญาณไซเรนและไฟเตือน ยี่ห้อ CL รุ่น CL-207L
สอบถามราคาเพิ่มเติม
น้ำยาทดสอบเครื่องตรวจจับควัน
สอบถามราคาเพิ่มเติม